โครงงานทางประวัติศาสตร์
ชื่อโครงงาน : ความเป็นมาบ้านป๋าเปรม
คณะผู้จัดทำโครงการ
เสนอ
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
ชื่อโครงงาน : ความเป็นมาบ้านป๋าเปรม
คณะผู้จัดทำโครงการ
1. น.ส. ชุติกาญจน์ เต็มยอด เลขที่ 10
2. น.ส. ปัณฑิตา มณีอ่อน เลขที่ 30
3. น.ส. ธิดารัตน์ รอดภัย เลขที่ 34
4. น.ส. อภิสรา สาริมาน เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
2. น.ส. ปัณฑิตา มณีอ่อน เลขที่ 30
3. น.ส. ธิดารัตน์ รอดภัย เลขที่ 34
4. น.ส. อภิสรา สาริมาน เลขที่ 36
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8
เสนอ
อาจารย์การุณย์ สุวรรณรักษา
ที่มาและเหตุผล
เนื่องจากพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์เป็นสถานที่สำคัญของชาวจังหวัดสงขลาและยังเป็นสถานที่กำเนิดของ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองค์มนตรี และรัฐบุรุษซึ่งจากคำบอกเล่าความทรงจำในอดีตสมัยที่บิดาของท่านดำรงตำแหน่งพัสดีเรือนจำ สงขลา "พะทำมะรง" เป็นตำแหน่งเก่าของข้าราชการกรมราชทัณฑ์ ที่มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีควบคู่กับตำแหน่งพัสดีปรากฎหลัก ฐานอยู่ในกฎหมายตราสามดวง และอัยการลักษณะต่าง ๆ ตำแหน่งพะทำมะรงได้ใช้ติดต่อกันมาตลอดจนได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติ ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ตำแหน่งพะทำมะรงจึงได้ถูกยกเลิกไป ดังนั้นสมาชิกในกลุ่มจึงจัดทำโครงงานนี้ขึ้นเพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาพิพิธภัณฑ์พธำมะรงค์
2. เพื่อให้เยาวชนรุ่นหลังรู้ถึงความเป็นมา
3. เพื่อนำไปบอกเล่าให้กับผู้ที่สนใจ
4. เพื่อได้ศึกษาประวัติศาสตร์โดยใช้ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นแนวทางใน การศึกษา
ขั้นตอนการดำเนินงาน
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย: กำหนดหัวข้อเรื่องซึ่งศึกษาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของพิพิธภัณฑ์ธำมะรงและแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกในกลุ่ม
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล: รวบรวมข้อมูลโดยการสำรวจพื้นที่ , ถ่ายรูป, จดบันทึกข้อมูลที่ได้ศึกษาจากพื้นที่จริงบริเวณพิพิธภัณฑพธำมะรงและหาข้อมูลเพิ่มเติมในอินเทอร์เน็ตเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน: ตรวจสอบข้อมูลที่หาได้จากอินเทอร์เน็ตและข้อมูลที่ได้จากการจดบันทึกว่าถูกต้องหรือไม่
ขั้นตอนที่ 4 วิเคราะห์ข้อมูลและตีความข้อมูล: เมื่อ หาข้อมูลที่เกี่ยวข้องพิพิธภัณฑพธำมะรง
แล้วจึงนำมาวิเคราะห์โดยสมาชิกในกลุ่มอีกทีหนึ่ง เพื่อจะนำเสนอส่วนใดบ้างและเพิ่มเติมเนื้อหาส่วนที่ขาดไปให้ถูกต้องครบถ้วน
ขั้นตอนที่ 5 นำเสนอผลงาน
วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้
1.) สมุดจดบันทึก เพื่อบันทึกข้อมูลที่จำเป็นต่อการนำมาวิเคราะห์
2.) กล้องถ่ายรูป
3.) ปากกา ดินสอ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เพื่อนำขั้นตอนทางประวัติศาสตร์มาปรับใช้กับ การศึกษาพิพิธภัณฑพธำมะรง
2.ทราบประวัติความเป็นมาและความสำคัญของพิพิธภัณฑพธำมะรง
3.ผู้ที่นำไปศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้นั้นไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาได้จริง
ผลการศึกษา
จากการศึกษา พบว่า พิพิธภัณฑ์พะทำมะรง เดิมเป็นบ้านพักของข้าราชการ ที่ดำรงตำแหน่งพะทำมะรง
และพัศดีเรือนจำ จังหวัดสงขลาจัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แด่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี,รัฐบุรุษ และนายกรัฐมนตรีคนที่ 16 ของประเทศไทยพ.ศ. 2442 พะทำมะรง เป็นตำแหน่งผู้บังคับการตะราง มีหน้าที่ประจำรักษาและรับผิดชอบ ว่ากล่าวการทั้งปวงในตะราง ให้เรียบร้อยถูกต้อง ตามข้อบังคับกระทรวงมหาดไทยในการกำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่เรือนจำพ.ศ. 2463 ได้มีการเรียกตำแหน่งผู้บังคับบัญชากิจการเรือนจำ จากพะทำมะรงเป็น พะทำมะรงพิเศษ มีหน้าที่บังคับบัญชากิจการเรือนจำ ขึ้นตรงต่อผู้ว่าราชการเมือง หรือผู้ว่าราชการจังหวัดพ.ศ. 2479 ได้มีการออกพระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 มาตรา 13
กำหนดตำแหน่งเจ้าหน้าที่ประจำเรือนจำ ดังนี้
1. ผู้บัญชาการเรือนจำ
1.1 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยเฉพาะ
1.2 ผู้บัญชาการเรือนจำโดยตำแหน่ง
2. สารวัตรเรือนจำ
3. พัศดี
4. ผู้คุม
จากการบังคับใช้พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 จะเห็นได้ว่า ตำแหน่งพะทำมะรง
ได้หายไป หากเทียบเคียงตำแหน่งพะทำมะรงเดิม น่าจะหมายถึงพัศดี ซึ่งจะมีหน้าที่
บังคับบัญชากิจการเรือนจำ ขึ้นตรงต่อ ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือนายอำเภอในบังคับบัญชา
ของจังหวัดหรืออำเภอนั้น ๆ พะธำมรงค์คนสุดท้ายที่พักอาศัยในบ้านพักหลังดังกล่าวคือ
หลวงวินิจทัณฑกรรม ( บึ้ง ติณสูลานนท์) บิดาของฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์
นั่นเอง รวมพัศดีที่พักอาศัยบ้านหลังดังกล่าว จำนวนถึง 9 คน พัศดีคนสุดท้ายที่พักอาศัยคือ
นายสะอาด แย้มกลิ่น ก่อนที่จะชำรุดทรุดโทรม จนไม่เหมาะสมที่ผู้บังคับบัญชากิจการ
เรือนจำจะพักอาศัยได้ แต่ก็ยังคงมีข้าราชการระดับหัวหน้าฝ่ายพักอาศัยอยู่ เป็นบ้าน
พักข้าราชการของเรือนจำจังหวัดสงขลาเพียงหลังเดียว ข้าราชการคนอื่นๆ พักอาศัยบ้าน
พักของตัวเองหรือเช่าบ้านเพื่อพักอาศัย เพราะเรือนจำสงขลาในขณะนั้น ไม่มีสถานที่สร้าง
บ้านพักให้ข้าราชการ
พ.ศ. 2517 เรือนจำฯได้ย้ายมาอยู่ ณ บ้านสวนตูล หมู่ 4 ตำบลเขารูปช้าง อำเภอ
เมือง จังหวัดสงขลา ที่ตั้งปัจจุบันบ้านหลังดังกล่าว จึงไม่มีผู้พักอาศัยอีกเลย ทำให้สภาพ
ของบ้าน ทรุดโทรมยิ่งขึ้น จนเกินแก่การจะบูรณะ
พ.ศ. 2524 ผู้ที่ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำกลางสงขลาในสมัยนั้นได้ปรับปรุง
ดัดแปลงให้เป็นถานที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์ราชทัณฑ์ของเรือนจำกลางสงขลา และใช้ประ
โยชน์เรื่อยมาพ.ศ. 2532 ขณะที่ นายประมวล งามไตรไร ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการเรือนจำ
กลางสงขลา ได้รับดำริจากอธิบดีกรมราชทัณฑ์ นายสนิท รุจิณรงค์ ให้บูรณะบ้านหลัง
ดังกล่าว เพื่อให้เป็นพิพิธภัณฑ์ที่ใช้เป็นสถานที่ศึกษาประวัติความเป็นมาของ พะทำมะรง
รวมทั้งประวัติของฯพณฯพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ในสมัยที่ท่านพักอาศัย ณ บ้านหลังนี้
อ้างอิง
• http://www.folktravel.com/archive/patammarong-museum.html
• http://www.mochit.com/place/2162
• http://bbs.spyhatyai.com/index.php?topic=4.0
แ่ผ่นพับ